ชนิดของข้อมูลใน VC#
การกำหนดตัวแปร
ตัวแปร (variable) หมายถึงสัญลักษณ์ที่เราใช้ในการอ้างอิงถึงข้อมูลแต่ละอย่าง โดยข้อมูลที่จะนำมากำหนดให้แก่ตัวแปรต้องตรงกับชนิดข้อมูลที่เราได้ระบุไว้กับตัวแปรนั้น และการจะนำข้อมูลไปใช้งานก็ต้องกระทำผ่านตัวแปรนี้แม้ว่าในบทที่แล้วเราจะผ่านการใช้งานเกี่ยวกับตัวแปรมาบ้าง แต่ก็เป็นพื้นฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการศึกษา ในบทนี้ก็จะนำสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้วบางส่วนมากกล่าวถึงอีกครั้งหนึ่งพร้อมด้วยในรายละเอียดที่เราควรรู้เพิ่มเติมอื่นๆ อีก
กฎการตั้งชื่อตัวแปรที่สำคัญ
• ต้องประกอบด้วยอักขระ A-Z, a-z, 0-9 หรือ _ เท่านั้น• อักขระตัวแรกต้องเป็นตัว A-Z หรือ a-z หรือ _ อย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น (จะเป็นตัวเลขไม่ได้)
• มีความยาวไม่เกิน 1,023 ตัว
• ต้องไม่ซ้ากับ Reserved Words ของ VC#
• ต้องประกอบด้วยอักขระ A-Z, a-z, 0-9 หรือ _ เท่านั้น
• การเขียนด้วยลักษณะตัวพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ต่างกัน ถือว่าเป็นคนละ ตัวกัน เช่น abc ≠ ABC ≠ Abc
เป็นต้น
ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปร
ที่ถูกต้อง เช่น x, firstname, Num1, Price_per_unit, _isValid, VATตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปร
ที่ไม่ถูกต้อง เช่น price/unit (เพราะมี อักขระ /), 1st_name (เพราะเริ่มต้นด้วยตัวเลข), string (เพราะซ้ำ กับ Reserved Word) เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว สำหรับ VC# นิยมตั้งชื่อตัวแปรให้ขึ้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก และถ้าเป็นการนำหลายๆ คำมารวมกันเป็นชื่อตัวแปร ก็ให้เฉพาะคำแรกขึ้น ต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก ส่วนคำถัดไปให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น firstName, pricePerUnit, numEmployees, dayOfWeek เป็นต้นการประกาศตัวแปร
สำหรับการประกาศตัวแปรใน VC# จะระบุชนิด หรือประเภทของข้อมูลของตัวแปรนั้นก่อน แล้วตามด้วยชื่อตัวแปร ในรูปแบบดังนี้เช่น
หากข้อมูลเป็นชนิดเดียวกัน เราสามารถประกาศรวมในชนิดข้อมูลเดียวกันได้
การกำหนดข้อมูลให้แก่ตัวแปร
การกำหนดค่าให้แก่ตัวแปรสำหรับข้อมูลแต่ละชนิดจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกตามชนิดข้อมูลได้ดังนี้ข้อมูลชนิดตัวเลข
ข้อมูลชนิดตัวเลขนั้น เราสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ1. ข้อมูลประเภทจานวนเต็ม(Integer) เช่น 123, 999, 1008 เป็นต้นโดยชนิดตัวแปรที่ใช้เก็บข้อมูลประเภทนี้ เช่น int, byte, short
หรือ long
2. ข้อมูลประเภทจานวนจริง(Real) ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งจานวนเต็ม หรือ มีทศนิยมก็ได้เช่น 123, 4.56 ,1.01 เป็นต้น โดยชนิดตัวแปรที่ใช้เก็บข้อมูลประเภทนี้ เช่น double, float หรือ decimal
ในการกำหนดค่าที่เป็นข้อมูลชนิดตัวเลขทั้งหมด สามารถใส่ตัวเลขลงไปได้เลย เพราะปกติตัวเลขทั้งหมด นั้นจะเขียนติดกันอยู่แล้ว แต่ต้องไม่มีเครื่องหมาย , อยู่ด้วย เช่น
เราไม่สามารถนำตัวเลขที่มีทศนิยมไปกำหนดให้ตัวแปรประเภทจำนวนเต็มได้ เช่น ต่อไปนี้จะเกิดข้อผิดพลาดทั้งหมด
ตัวแปรประเภท Real นั้นสามารถเก็บค่าได้ทั้งจำนวนเต็ม และมีทศนิยม เช่น
ข้อมูลชนิดลีน
ข้อมูลชนิดลีนจะเป็นได้เพียงค่า true หรือ false อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง true และ false นี้ก็เป็นคีย์เวิร์ดของ VC# อยู่แล้ว ดังนั้น จึงสามารถ นาไปกาหนดให้แก่ตัวแปรได้เลย เช่นข้อมูลชนิด CHAR
ข้อมูลชนิดนี้จะกาหนดเป็นอักขระใดๆ เพียง 1 ตัว ซึ่งเราต้องเขียนอักขระ นั้นไว้ในเครื่องหมาย Single Quote (‘ ‘) เช่นอย่างไรก็ตาม สาหรับข้อมูลชนิด char นี้ บางครั้งก็อาจไม่สะดวกต่อการ ใช้งานมากนัก ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนเป็นชนิด string แทนได้ เช่น
ข้อมูลชนิดสตริง
สตริง คือ ข้อมูลที่เป็นสายอักขระ หรือเป็นการนำอักขระแต่ละตัวมาวางเรียงต่อกัน เช่น คำว่า “Visual” เกิดจากอักขระ V + I + s + u + a + l เป็นต้น โดยสตริงอาจมีความยาวเท่าไหร่ก็ได้ และจากการที่เราไม่จำเป็นต้องเขียนอักขระทุกตัวติดกันไป จนจบสตริงเหมือนกับการเขียนตัวเลข จึงทำให้โปรแกรมไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า สตริงนั้นเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใด ดังนั้นการกำหนดข้อมูลที่เป็นสตริง เราต้องกำหนดจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของมันด้วยเครื่องหมาย Double Quotes (“ “) เสมอ เช่น
ในกรณีที่สตริงนั้นจาเป็นต้องมีเครื่องหมาย Double Quotes รวมอยู่ด้วยก็ให้เขียนเครื่องหมายแบ็คสแลช ( \ ) ไว้หน้าเครื่องหมาย Double Quotes นั้น เช่น หากต้องการให้ตัวแปร a จะมีค่าเป็น
I choose “VC#” for .NET programming จะเขียนดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น