วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การสร้างเมธอดที่ไม่มีการส่งค่ากลับ

     เมธอด (Method) เป็นการสร้างชุดคำสั่งที่ใช้ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนมากมักเป็นส่วนที่ต้องทำซ้าบ่อยๆภายในโปรแกรมนั้นโดยหากเราแยกสิ่งทีต้องทำซ้าๆ ดังกล่าวออกมาเป็นชุดคำสั่งย่อยๆ ต่างหาก เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานเฉาะส่วนนี้ได้ทันทีเมื่อต้องการ ดังนั้น เมธอดจึงช่วยให้เราไม่ต้องเขียนโปรแกรมที่ต้องทำสิ่งเดียวกันซ้าบ่อยๆ ทำให้ประหยัดเวลา และลดขนาดของโค้ดลงไปได้ ซึ่งก็จะส่งผลให้โปรแกรมทำงานได้เร็วขึ้นด้วย

     เมธอดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ “เมธอดที่ไม่มีการส่งค่ากลับ” (non-return value method) และ “เมธอดที่มีการส่งค่ากลับออกไป” (return value method) โดยรูปแบบพื้นฐานในการเขียนเมธอดแบบไม่ส่งค่ากลับคือ

      โมดิฟายเออร์ (Modifier) เป็นระดับการควบคุมการเรียกใช้เมธอดจากภายใน เช่น จากคลาสอื่นๆ ทั้งนี้รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับโมดิฟายเออร์ เราจะได้ศึกษาอีกครั้งในบทที่ 11 สำหรับการสร้างเมธอดเพื่อใช้งานทั่วๆไป ในเบื้องต้นนี้ให้กำหนดโมดิฟายเออร์เป็น Private ไปก่อน

      ชื่อเมธอด มีหลักการคล้ายกับการตั้งชื่อตัวแปรสาหรับใน VC# นิยมเขียนชื่อเมธอดให้ขึ้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ แล้วถัดไปเป็นตัวพิมพ์เล็ก ถ้าเป็นการนำหลายๆคามาร่วมกันก็ให้เขียนติดกัน และควรเขียนขึ้นต้นแต่ล่ะคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
เช่น ShowError, GetData , Setvalue, PrintEmployeeInfo, IsCompleteData เป็นต้น

      พารามิเตอร์ คือ การรับข้อมูลจากภายนอกเข้ามา เช่น เมธอดหาพื้นที่วงกลมก็อาจรับค่ารัศมีจากภายนอกเข้ามา เป็นต้น แต่ทั้งนี้พารามิเตอร์อาจจะไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นว่า เราต้องใช้ข้อมูลจากภายนอกหรือไม่ ตัวอย่างสร้างเขียนเมธอดแบบไม่มีพารามิเตอร์ เช่น



      สำหรับตำแหน่งการเขียนเมธอดนั้นสามารถวางไว้ก่อนหรือหลังส่วนที่เรียกใช้เมธอดก็ได้ แต่โดยทั่วไปนิยมวางไว้ก่อนส่วนทีเรียกใช้งาน เพื่อค้นหาได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น